มาร่วมกันถักทอความเข้าใจด้วยศักยภาพแห่งการ “รับฟัง” ในโครงการ “เพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ”

ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เสมือนว่า “เรา” (คนเล็กๆ คนนึง) จะทำสิ่งใดไม่ได้
จริงหรือ?….

ขอเชิญชวน “เพื่อน” ผู้สนใจ มาร่วมกันถักทอความเข้าใจด้วยศักยภาพแห่งการ “รับฟัง”
ให้ศักยภาพแห่งการ “รับฟัง” ได้เปิดเผย “ปัญญาแห่งสายสัมพันธ์” ในผู้คน ให้กลับมาเชื่อมโยงกัน
ให้ “การให้ความเข้าใจ” ได้เป็นประตูแห่งการเรียนรู้ที่จะ “อยู่ร่วม” ใน “ความขัดแย้ง” ของผู้คน
“เรา” จะทำบางสิ่ง
และ
“เรา” จะไม่ทำโดยลำพัง!

จากกลุ่ม ‘เพื่อนรับฟัง’ ซึ่งเป็นการรวมตัวของเพื่อนมิตรกลุ่มเล็กๆ เข้าไปรับฟังคู่ขัดแย้งในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ปี 2553 สืบเนื่องมาเป็น โครงการเพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ ที่เปิดรับผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมเป็น “อาสาเพื่อนรับฟัง” ที่ จะใช้ศักยภาพการรับฟัง เข้าไปรับฟังผู้คนในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา 2 แห่ง คือ ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย และชุมชนหลังป้อมมหากาฬ

อาสาเพื่อนรับฟัง จะร่วมเรียนรู้ผ่าน
•  กระบวนการอบรม การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation) ซึ่งเป็นการทำงานกับความขัดแย้งภายใต้ฐานคิดที่ว่า ความขัดแย้งนำไปสู่บางสิ่งบางอย่างที่เป็นธรรมขึ้นได้ โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งก่อนการแก้ไขความ ขัดแย้ง โดยทีมกระบวนกรจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานกับ การสื่อสารอย่างสันติ (Non-violent Communication) การสื่อสารเพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยการรับฟัง โดยคุณกัญญา ลิขนสุทธิ์ และทีมงาน
•  การรับฟังในพื้นที่ปฏิบัติการในชุมชน  6 ครั้ง โดยในการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 คุณกัญญา ลิขนสุทธ์จะเป็นผู้ดูแลการลงพื้นที่อย่างใกล้ชิด
•  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาสาเพื่อนรับฟัง

ระยะเวลาดำเนินการ
พฤษภาคม – ธันวาคม 2554
ทางโครงการดูแลค่าใช้จ่ายการอบรม ค่าเดินทางและค่าอาหารอาสาสมัครระหว่างปฏิบัติการ

ที่ปรึกษาโครงการ
พระไพศาล วิสาโล, ประมวล เพ็งจันทร์, กัญญา ลิขนสุทธิ์

ประสานงานโครงการ
วริสรา กริชไกรวรรณ(โอ๋) พรเพ็ญ วงศ์กิจมโนชัย(เพนกวิน)
เบอร์ติดต่อ 081-9488185 อีเมล์ pusaidad@gmail.com และ penpenna@gmail.com

โครงการเพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ
เป็นโครงการหนึ่งภายใต้ชุดโครงการ การสื่อสารทางสุขภาวะเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคม โดยเครือข่ายพุทธิกา
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เมื่อคุณพร้อมจะเป็นเพื่อน เราจะมีเพื่อน ไปรับฟังร่วมกัน…
อาสาเพื่อนรับฟัง
“เรา” จะทำบางสิ่ง
และ “เรา” จะไม่ทำโดยลำพัง

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในใบสมัคร “อาสาเพื่อนรับฟัง”)


*ข้อมูลชุมชน

1. ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย
เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว อาศัยอยู่เลียบทางรถไฟ มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 300 หลังคาเรือน เป็นพื้นที่ทับซ้อนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งทางชุมชนได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินของตนตลอดมา
ในการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2553 มีสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมการชุมนุมทั้งของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.) และสถานการณ์ความรุนแรงกลางปี 2553 พื้นที่ของชุมชนอยู่ติดกับแนวเขตการเผายางในพื้นที่ถนนพระรวม 4 ได้รับผลกระทบในด้านความปลอดภัย ความไว้วางใจ ความตึงเครียดจากสถานการณ์สูง
2. ชุมชนหลังป้อมมหากาฬ
เป็นชุมชนเก่าที่อาศัยอยู่ริมกำแพงพระนคร ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 50-60 หลังคาเรือน เป็นพื้นที่ที่ทางกรุงเทพมหานครต้องการปรับภูมิทัศน์ให้กลายเป็นสวนหย่อม ซึ่งทางชุมชนได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินของตนตลอดมา
ในการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2553 มีสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมการชุมนุมทั้งของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย และฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.) และในการชุมนุมทางการเมืองทุกครั้งที่ใช้ถนนราชดำเนินเป็นพื้นที่การชุมนุม เวทีหลักของการชุมนุมจะตั้งอยู่ติดกับทางเข้าของชุมชน ส่งผลกระทบแก่ชุมชนในด้านความปลอดภัย ความสงบเงียบ ความไว้วางใจ และความตึงเครียด

รายละเอียดการรับสมัคร